วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555

วันจันทร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555

การผลิตสื่อเด็กปฐมวัย


สื่อสำหรับเด็กปฐมวัยเรื่องการผลิตสื่อ 
มีทั้งหมด 33 สื่อ 


วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2555

ค้นคว้าเพิ่มเติม





             กระทรวงศึกษาธิการกำลังเตรียมที่จะเปิดประมูล TABLET เพื่อ

แจกนักเรียนตามนโยบายที่พรรคเพื่อไทยได้หาเสียงไว้ โดยมีราย

ละเอียดคร่าวๆดังนี้

       1.  TABLET นี้จะแจกเฉพาะเด็กนักเรียนชั้น ป.๑ ในปีการศึกษา   

๒๕๕๕ เท่านั้น 

      2.  TABLET นี้จะแจกให้นักเรียนชั้น ป.๑ จำนวน ๔ แสนกว่าคนเท่านั้น  

โดยที่นักเรียนชั้น ป.๑ อีกประมาณ ๓ แสนคนจะไม่ได้รับ โดยใช้หลัก

เกณฑ์ว่า โรงเรียนที่จะได้รับแจกจะต้องเป็นโรงเรียนที่มีความพร้อม

เท่านั้น ซึ่งความพร้อมนี้จะประกอบไปด้วย ต้องมีไฟฟ้าใช้ และต้องเข้าถึง

อินเตอร์เน็ตได้ 

     3.  TABLET นี้ถ้าเป็นนักเรียนโรงเรียนเอกชนจะเอากลับบ้านได้ แต่ถ้า

เป็นโรงเรียนรัฐบาลจะต้องเก็บไว้ที่โรงเรียน

      4.  TABLET นี้อายุการใช้งานของแบตเตอรีคือ ๑ ปี อายุการใช้งาน

ของเครื่องคือ ๓ ปี 

      5.  กระทรวงจะนำตำราเรียนส่วนใหญ่ใส่ไว้ในเครื่อง TABLET นี้ โดย

จะเหลือตำราเรียนที่เป็นหนังสือจริงเป็นส่วนน้อย 

      6.  ราคาของเครื่องที่กำหนดไว้คือ ๓,๔๐๐ บาท โดยเครื่องจะมาจาก

ประเทศจีน ซึ่งสิ่งนี้จะสร้างผลกระทบต่อคุณภาพการศึกษาและสภาพ

สังคมเป็นอย่างมาก 


 ผมจึงขอตั้งคำถามให้กระทรวงศึกษาได้ตอบกับประชาชนที่ยังไม่

ทราบแผนการดำเนินการโดยละเอียดของกระทรวงดังนี้ ทำไมถึงแจกให้

กับเด็ก ป.๑ เท่านั้น   
      
         เพราะถ้า TABLET นี้มีประโยชน์จริงและมีความเป็นสำหรับการ

ศึกษาของนักเรียนแล้วทำไมถึงไม่แจกนักเรียนในระดับอื่นๆด้วย และถ้ามี

ข้อจำกัดเรื่องงบประมาณทำไมไม่แจกให้กับนักเรียนที่กำลังจะจบการ

ศึกษาภาคบังคับคือ ม.๓ ก่อน เพราะเด็ก ม.๓ กำลังออกไปสู่สังคมและนำ

ผลจากการศึกษาไปใช้ แต่เด็ก ป.๑ นั้นยังเหลือเวลาอีก ๙ ปีที่จะนำผล

จากการศึกษาไปใช้ ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้แสดงว่ากระทรวงกำลังละเลยเด็ก

 ป.๒ ถึง ม. ๓ แล้วปล่อยให้ประเทศต้องรออีก ๙ ปีเพื่อจะได้คุณภาพการ

ศึกษาที่ดีขึ้น ใช่หรือไม่ 

     1.  ทำไมถึงแจกให้กับเด็ก ป.๑ แค่ประมาณร้อยละ ๖๐ หรือ สี่แสนกว่า

คน แต่ไม่แจกให้นักเรียนอีกประมาณสามแสนคน นักเรียนในเขตชนบท

ห่างไกลจะไม่ได้รับ และโดยข้อเท็จจริงแล้วเด็กในเมืองนั้นก็สามารถเข้า

ถึงอินเตอร์เน็ตได้อยู่แล้ว และนักเรียนส่วนมากก็มีคอมพิวเตอร์ที่บ้านและ

ที่โรงเรียนอยู่แล้ว ซึ่งสิ่งนี้จะเป็นสิ่งตรงกันข้ามกับที่ควรจะเป็น คือเราควร

ที่จะพัฒนาโรงเรียนที่ห่างไกลก่อนเพื่อให้การศึกษามีความเท่าเทียมกัน

ทั้งประเทศ ถ้าเด็กทั้งหมดจบ ป.๖ ไปแล้วต้องไปเรียน ม.๑ โรงเรียน

เดียวกัน ทำให้โรงเรียนมัธยมนั้นมีทั้งเด็กที่เรียนมาด้วยระบบ TABLET 

และนักเรียนที่เรียนมาด้วยระบบปกติซึ่งจะเรียนรวมกันได้ยากมาก แล้วก

ระทรวงศึกษาจะทำอย่างไร 

       2.  กระทรวงศึกษาได้ทำวิจัยแล้วหรือยังว่า การที่เด็ก ป.๑ มี TABLET 

นั้นดีกว่าไม่มี เพราะจากข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์พบว่าเยาวชนส่วนใหญ่

ใช้คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต และโทรศัพท์ ไปในทางบันเทิง เช่น เล่นเกม

เล่นfacebook สนทนา ดูหนัง ฟังเพลง ฯลฯ มากกว่าจะใช้ในทางวิชาการ 

และที่น่าเป็นห่วงไปกว่านั้นคือถ้านักเรียนใช้ TABLET นี้ไปเข้าเว็บไซต์ที่

ไม่เหมาะสม เช่น เว็บไซต์ลามก รุนแรง การพนัน หรือเว็บไซต์ที่นำพา

ความคิดของนักเรียนไปในทางที่ผิดแล้ว กระทรวงฯจะป้องกันหรือแก้

ปัญหาอย่างไร 

        3.  การที่ไม่ยอมให้นักเรียน ป.๑ ในสังกัดของรัฐบาลหรือ สพฐ.นำ 

TABLET กลับไปใช้ที่บ้านนั้นทำให้ TABLET มีสภาพไม่ต่างอะไรกับ

เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะที่โรงเรียนที่โรงเรียนในเขตเมืองนั้นมีอยู่แล้ว 

และความสามารถก็สูงกว่า และการที่ไม่ยอมให้นำ TABLET กลับบ้าน

เท่ากับว่ากระทรวงฯจะจัดซื้อ TABLET โดยละทิ้งคุณสมบัติหลักของ 

TABLET คือการเคลื่อนย้ายได้สะดวกไป ใช่หรือไม่ แล้วอย่างนี้จะซื้อ 

TABLET มาเพื่ออะไร และเมื่อนักเรียนกลับบ้านจะใช้หนังสือที่ไหนอ่าน

ทบทวน จะใช้หนังสือที่ไหนเพื่อค้นคว้าเพิ่มเติมและอ่านประกอบการ

ทำการบ้าน เมื่อเป็นเช่นนี้จะทำให้เด็กไทยอ่านหนังสือน้อยลงไปอีกใช่

หรือไม่ 

      4.  การแจก TABLET เฉพาะนักเรียนชั้น ป.๑ แค่บางโรงเรียนนี้ 

กระทรวงได้คำนึงถึงผลกระทบทางสังคมที่จะตามมาหรือไม่ เช่น ความ

รู้สึกของนักเรียนชั้น ป.๒ ถึง ม. ๓ ที่อยู่ในโรงเรียนเดียวกันจะเป็นอย่างไร 

จะมีความอิจฉาริษยาเกิดขึ้นหรือไม่ จะมีความน้อยเนื้อต่ำใจเกิดขึ้นหรือ

ไม่ จะมีการข่มขู่หรือประทุษร้ายเพื่อแย่งชิง TABLET กันในโรงเรียนหรือ

ไม่ และนักเรียนในเขตชนบทอีกประมาณสามแสนคนนั้นจะคิดอย่างไร

ต่อการปฏิบัติที่ไม่เท่าเทียมนี้ 

          5.  ในกรณีที่มีความเสียหาย หรือชำรุด หรือสูญ  หายของ TABLET 

เกิดขึ้นใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ ถ้าเป็นความรับผิดชอบของผู้ปกครองแล้ว

ถ้าผู้ปกครองยากจนไม่มีความพร้อมจะทำอย่างไร เด็กที่ไม่มีเครื่อง 

TABLET ใช้จะเรียนอยู่ในห้องได้อย่างไร 

         6.  บริการหลังการขายของเครื่องสี่แสนกว่าเครื่องจะเป็นอย่างไร ผู้

ขายจะไปให้บริการถึงโรงเรียน หรือนักเรียนจะต้องนำเครื่องไปกับบริการ

ที่ศูนย์บริการของผู้ขาย และผู้ขายจะมีศูนย์บริการเพียงพอหรือไม่ การ

ซ่อมแต่ละครั้งจะใช้เวลานานแค่ไหน จะมีการคิดค่าซ่อมหรือไม่ ใครจะ

เป็นผู้จ่ายค่าซ่อม และผู้ขายจะมีเครื่องให้ใช้สำรองระหว่างการซ่อมหรือ

ไม่ แล้วถ้าไม่มีนักเรียนที่นำเครื่องไปซ่อมจะเรียนอย่างไร

        7.  การที่นักเรียนมี TABLET และต่ออินเตอร์เน็ตได้จะทำให้การลอก

การบ้านหรือลอกรายงานง่ายขึ้นแค่การกดปุ่มไม่กี่ปุ่มเท่านั้นและจะเป็น

ปัญหาใหญ่ของการศึกษา กระทรวงจะแก้อย่างไร 

        8.  ในกรณีที่ให้นำ TABLET กลับบ้านนั้นผู้ปกครองที่ไม่ค่อยมีความรู้

จะควบคุมพฤติกรรมของลูกได้อย่างไร ผู้ปกครองจะรู้ได้อย่างไรว่าการที่

ลูกหลานของตนกำลังจดจ่ออยู่กับ TABLET นั้นพวกเขากำลังทำสิ่งที่

เป็นประโยชน์หรือโทษ 

        9.  กรณีครูที่ไม่มีความรู้ กระทรวงได้เตรียมการแก้ปัญหาไว้อย่างไร 

       10.  กรณีโรงเรียนขนาดเล็กที่ครู ๑ คนต้องสอนนักเรียน ๒ ระดับเช่น 

ป.๑ กับ ป.๒โดยสอนในห้องเดียวกันนั้น ครูจะทำอย่างไร เด็ก ป.๒จะคิด

อย่างไร จะมีปัญหาที่นำไปสู่ความรุนแรงได้หรือไม่                              

        11.  กระทรวงจะทำอย่างไรถ้ามีลูกคนรวยที่มีเครื่องคุณภาพดีกว่านี้

แล้วขอนำเข้ามาใช้แทนเครื่องที่รัฐบาลแจก แล้วถ้าเป็นเช่นนั้นก็จะเกิด

การเลียนแบบกัน นักเรียนก็ที่มีฐานะดีจะไปร้องขอให้ผู้ปกครองซื้อเครื่อง

ที่ดีกว่ามาใช้ ส่วนนักเรียนที่มีฐานะไม่ดีก็จะเกิดปมด้อยขึ้น เหมือนปัญหา

โทรศัพท์มือถือในปัจจุบัน 

       12.  กระทรวงศึกษาจะใช้เวลานานเท่าไรในการที่จะประเมินผลการ

ใช้ TABLET ว่าได้ประโยชน์มากกว่าโทษ และคุ้มค่ากับเงินที่เสียไป แล้ว

ถ้าผลออกมาตรงกันข้ามกระทรวงจะดำเนินการอย่างไร 

       13.  เมื่อครบ ๑ ปีแล้วแบตเตอรีเสื่อมลง ใครจะเป็นผู้ซื้อแบตเตอรีใหม่

ให้นักเรียน ซื้อจากใคร ในราคาเท่าไร ถ้าต้องซื้อจากผู้ที่เป็นผู้ขายตัว

เครื่องเท่านั้นก็จะเป็นการผูกขาดที่ผู้ขายสามารถกำหนดราคาได้ตาม

อำเภอใจใช่หรือไม่ และในข้อเท็จจริงเมื่อเวลาผ่านไปอีก ๑ หรือ ๒ ปี

ราคาของแบตเตอรีควรจะถูกลงกว่าราคาในวันที่ประมูลใช่หรือไม่

        14.  กรณีที่นักเรียนนำ TABLET กลับบ้านนั้น เด็กอยู่แค่ชั้น ป.๑ จะ

รับผิดชอบดูแลเครื่อง TABLET นี้ได้หรือไม่ ถ้าเกิดปัญหามิจฉาชีพคอย

ทำร้ายเด็กเพื่อชิง TABLET จากเด็กจะทำอย่างไร

         15.  ถ้าเกิดกรณีที่มีบางโรงเรียนที่ครูใช้ TABLET ไม่เป็นและไม่กล้า

ใช้ จนไม่นำ TABLET มาเป็นเครื่องมือในการสอน แต่เก็บไว้เฉยๆแล้วใช้

การสอนแบบเดิม กระทรวงจะทำอย่างไร 
        
      16.  ถ้าเครื่องมีปัญหาจากโรงงาน และเป็น ปัญหาที่เกิดกับทุกเครื่อง 

กระทรวงจะทำอย่างไร ถ้าเครื่องใช้ไม่ได้พร้อมกันนักเรียนจะใช้อะไรเป็น

สื่อในการเรียนเพราะแทบไม่มีหนังสือแล้ว 


        ผลสำรวจ : คน ๙๔% ไม่เห็นด้วยกับการแจก TABLET ให้ ป.๑ 

     จากการที่ผมได้ทำการสำรวจเรื่องความเห็นที่มีต่อการแจกTABLET 

ให้กับเด็ก ป.๑ และวัตถุประสงค์ในการใช้คอมพิวเตอร์ของนักเรียน โดย

สำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง ๔๐๗ คน โดยผู้ถูกสำรวจประกอบไปด้วย นิสิต

จุฬาฯ นักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดม นักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา

พัฒนาการ นักเรียนโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ ครู นักเรียน และผู้

ปกครองอีกจำนวนหนึ่ง โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์โดยตรง ผลปรากฏว่า 

ร้อยละ ๙๔.๑๐ ไม่เห็นด้วยกับการที่รัฐบาลจะแจก TABLET ให้กับเด็ก 

ป.๑ โดยส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่า เด็ก ป.๑ นั้นเด็กเกินไป ไม่จำเป็นและไม่

ควรจะต้องใช้ TABLET และการนำมาใช้จะสร้างปัญหามากกว่า

ประโยชน์ และการแจกไม่ครบทุกคนก็เป็นสิ่งที่ไม่ยุติธรรม








มศว.แจงผลไม่ควรแจกแท็บเล็ตเด็กป.1

         หลังรัฐบาลได้อนุมัติแท็บเล็ต 500 เครื่องให้ใช้ใน
โรงเรียนนร่อง 5 แห่งทั่วประเทศ    มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ หรือ มศว. ติดตามผลการศึกษาถึงผลกระทบจากการใช้แท็บเล็ตในสื่อการเรียนการสอน และพบว่า ไม่ควรแจกแท็บเล็ตให้เด็กประถมศึกษาชั้นปีที่ แต่ควรแจกให้เด็กมหาวิทยาลัยมากกว่า 

       หลังจากที่รัฐบาลอนุมัติโครงการ One Tablet PC per Childใน 5 โรงเรียนนำร่องทั่วประเทศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้ทำการติดตามและศึกษาผลของการใช้แท็บเล็ต ทั้งด้านคุณภาพและปริมาณ โดยทำการเก็บข้อมูลโดยตรงจากพฤติกรรมการเรียนการสอนจากการใช้แท็บเล็ต แบบทดสอบ การตรวจสุขภาพ รวมถึงรับฟังข้อคิดเห็น ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน 2555 ถึงการเปลี่ยนแปลงทางด้านพฤติกรรมและสุขภาพของครูและนักเรียน พบว่า พฤติกรรมของเด็กนั้นไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านการฝึกหัด หรือการทำกิจกรรมสู่ความถนัด แต่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านการใช้เทคโนโลยี มีความกระตือรือร้นในการเรียนและมีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น ซึ่งเด็กประถมศึกษาชั้นปีที่ 4 มีการตอบสนองดีกว่าเด็กประถมศึกษาชั้นปีที่ 1  ส่วนด้านสุขภาพและพัฒนาการ ยังไม่พบอาการเจ็บป่วยแต่อย่างใด รวมถึงปัญหาการบริโภคอาหารหรือกล้ามเนื้อมัดเล็ก

        นอกจากนี้ยังศึกษาผลกระทบต่อครูผู้สอน พบว่า ครูต้องพึ่งช่างเทคนิคในการระหว่างการสอน มีภาระจากการเตรียมการสอนมากขึ้น ทำให้ครูมีความกระตือรืนร้นในการสอนเพิ่มขึ้น โดยแท็บเลตสามารถตอบสนองการสอนแบบ learning by doing ได้เป็นอย่างดี และเกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างครูกับนักเรียนมากขึ้น ขณะที่พบปัญหาไม่สามารถควบคุมเวลาการสอนและเด็กในชั้นเรียนได้ 

         นอกจากนี้ ผลการศึกษาได้ระบุข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาและครูว่า การใช้แท็ปเล็ตในสื่อการเรียนการสอนควรเริ่มให้เด็กประถมศึกษาชั้นปีที่ 4 เพราะมีความพัฒนาการที่พร้อมมากกว่าเด็กประถมศึกษาชั้นปีที่ 1 ขณะที่ปัจจุบันครูไม่สามารถแก้ไขปัญหาทางเทคนิคขณะสอนผ่านแท็ปเลตได้ จึงมีความจำเป็นต้องพึ่งช่างเทคนิคในการช่วยสอน ซึ่งหากต้องแจกแท็บเล็ตทุกโรงเรียนจริง รัฐบาลจะส่งช่างเทคนิคเข้าดูแลทุกโรงเรียนอย่างน้อยโรงเรียนเล็กต้องมีช่างเทคนิค 1 คน ซึ่งหากเป็นไปได้ ควรเปลี่ยนนโยบายเป็น  One tablet  one projector  หรือ smart board  แทน

       ทั้งนี้ ผลการศึกษาได้สรุปข้อเสนอแนะเชิงนโยบายถึงโครงการ One Tablet PC per Child ว่ารัฐบาลจะต้องจัดทำแผนแม่บทถึงความจำเป็นในการใช้แท็บเล็ตตั้งแต่ฝ่ายบริหารครู ครอบครัวเด็ก และเด็กนักเรียนอย่างชัดเจน ต้องพัฒนาเนื้อกาการเรียนการสอนให้ครบถ้วนเพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่มากกว่าหนังสือ ต้องจัดหางบประมาณรองรับช่างเทคนิคประจำโรงเรียน และห้ามนำแท็บเล็ตกลับบ้านเพื่อป้องกันปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม แท็บเล็ตสูญหาย และพฤติกรรมที่เปลี่ยนในทางลบของเด็ก รวมทั้งต้องมีความพร้อมในการติดตั้งเครือข่าย wi fi ระดับชุมชนที่มากขึ้นกว่าปัจจุบัน

       นอกจากนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์เฉลิมชัย บุญยุลีพรรณ กล่าวในฐานะผู้ทำการศึกษาผลโครงการนำร่องการใช้แท็บเล็ตว่า อยากให้รัฐบาลนำผลการศึกษาจากโครงการครั้งนี้ ไปประกอบการพิจารณาการดำเนินนโยบาย One Tablet PC per Child เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน ซึ่งหากเป็นไปได้ ควรแจกแท็บเลตให้กับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา 5 ล้านคนแทน เด็กประถมศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่มีประมาณ 10 ล้านคน เนื่องจากนักศึกษาอยู่ในช่วงวัยที่สามารถใช้ประโยชน์จากแท็บเล็ตได้เต็มที่ และยังสามารถลดความเหลื่อมล้ำของนักศึกษาฐานะยากจนได้