วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2555

                          
                            ค้นคว้าเพิ่มเติม


   การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน   เรื่องปลาสายรุ้ง




  
แนวคิดพื้นฐาน

        "นิทาน" เป็นสิ่งที่เด็กเข้าถึงได้ง่าย เรื่องราวในนิทานมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างเสริม


จินตนาการให้แก่เด็กการนำนิทานมาเป็นสื่อหลักในการจัดประสบการณ์ ช่วยให้เด็กประสบความ

สำเร็จในการเรียนรู้ได้ง่ายยิ่งขึ้น

ความหมาย

        การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้วรรณกรรมสำหรับเด็กเป็นหลักในการ


ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่สัมพันธ์กับหลักสูตรเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ 

สังคมและสติปัญญาอย่างเป็นองค์รวม

หลักการ

1. การจัดการเรียนรู้ควรตอบสนองต่อความต้องการพื้นฐานตามธรรมชาติของเด็ก


ในการค้นหาความหมาย

2. การเรียนรู้ต้องเปิดโอกาสให้เด็กกำหนดรูปแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับตน


3. การจัดการเรียนรู้ต้องให้ความสำคัญต่อบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก


4. การฟังคือที่มาสำคัญของการพัฒนาภาษาคำ ความหมาย และภาษาที่งดงาม

สร้างขึ้นได้จากนิทาน

5. เด็กเรียนรู้ผ่านกิจกรรมและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใหญ่หรือเด็กที่โตกว่า

วิธีการ

1. เลือกวรรณกรรมที่ดีมาอ่านให้เด็กฟังไม่ต้องกังวลที่จะให้เด็กอ่านตามไม่ต้องให้เด็กคอยตอบ


คำถามไม่ต้องจำเรื่องให้ได้ทำให้เด็กรู้สึกสนุกที่จะฟังเรียกร้องครั้งแล้วครั้งเล่าให้ผู้ใหญ่อ่านให้ฟัง
*** ภาพประกอบในหนังสือจะสื่อความหมายให้สมองรับรู้เรื่องราวที่ได้ฟังและแม้มีคำยากปนอยู่

บ้างสมองก็จะพยายามเชื่อมโยงความหมายของคำนั้นกับเรื่องราววิธีเรียนรู้แบบนี้เป็นวิธีเรียน

ภาษาที่ได้ผลสัมฤทธิ์สูง 

*** เมื่ออ่านให้เด็กฟังติดต่อกันยาวนานพอเด็กจะเริ่มจดจำเรื่องได้ในที่สุดเด็กจะหยิบหนังสือ

มาเปิดอ่านการสะกดได้จะตามมาภายหลังการสอนอ่านและสอนสะกดทำได้ง่ายมากเมื่อเด็กรัก

ที่จะอ่านแล้ว 
2. กระตุ้นให้เด็กสนทนาเกี่ยวกับตัวละครวัตถุสิ่งของ ฉาก หรือสถานการณ์ที่สัมพันธ์กับ

วรรณกรรมโดยใช้คำถามหลายๆ ระดับ
        
        ** ลักษณะของคำถาม : ความจำ, ความเข้าใจ, การวิเคราะห์, การนำไปใช้, 

การประเมินค่า, การสร้างสรรค์ **
3. วางแผนและออกแบบกิจกรรมที่สัมพันธ์กับวรรณกรรม และสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถาน

ศึกษาปฐมวัย ครอบคลุมพัฒนาการทุกด้านของเด็ก และเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับกิจกรรมประจำวัน 

โดยมีศิลปะและละครเป็น องค์ประกอบสำคัญ




                               เด็กๆ ถ่ายทอดความรู้สึกและลำดับเรื่องราวผ่านละครสร้างสรรค์ หลังจาก
                          
                          ได้ฟังนิทานเรื่องปลาสายรุ้ง เป็นการเรียนรู้ที่จะเลือกสัญลักษณ์ที่เหมาะสมใน

                           การนำเสนอความคิดด้วยสีหน้า ท่าทาง และคำพูดให้เหมาะสมกับสิ่งที่เด็กๆ

                           ต้องการสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจ






จากนั้น  เด็กๆก็ได้ช่วยกันตัดกระดาษเป็นเกร็ดปลาสายรุ้ง




          
เด็กๆได้สร้างสรรค์ปลาสายรุ้งด้วยขนมปังและแยมสีต่างๆ

 แล้วก็ตัดเป็นรูปสามเหลี่ยมเพื่อเป็นหางปลา



กิจกรรมเรียนรู้ที่สัมพันธ์กับวรรณกรรม
** การวิเคราะห์ตัวละคร


** การวิเคราะห์สถานการณ์


** การจัดทำวัตถุสิ่งของ


** การเล่นละครสร้างสรรค์


** อุปกรณ์ประกอบฉากหรือเครื่องแต่งกายที่สัมพันธ์กับเรื่อง


** การจัดโต๊ะนิทาน


** การทำหนังสือนิทาน


** การทำศิลปะแบบร่วมมือ


** การประกอบอาหาร


** การประดิษฐ์และการสร้าง


** เพลง และคำคล้องจอง


** การเคลื่อนไหวและจังหวะ


** การเพาะปลูก


** การเลี้ยงสัตว์


** เกมการศึกษา
4. จัดนิทรรศการแสดงสิ่งที่เด็กๆ เรียนรู้โดยทบทวนกิจกรรมที่จัดแล้วร่วมกับเด็กให้เด็กช่วยกัน

เลือก สิ่งที่ต้องการนำเสนอให้ผู้อื่นรับรู้เกี่ยวกับวิธีการที่เด็กเรียนรู้และสิ่งที่เด็กเรียนรู้ และร่วมกัน

จัดนิทรรศการ




     การเรียนรู้ประกอบด้วยจุดสนใจหลักและรับรู้สิ่งรอบตัวไปพร้อมๆ กัน


images/stories/v12.gif

images/stories/v13.gif







      ครูควรใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้ในทุกแง่มุมจัดสิ่งแวดล้อมในห้องเรียนให้สัมพันธ์กับ

วรรณกรรมโดยให้เด็กมีส่วนร่วม เพื่อให้สมองเรียนรู้จากจุดสนใจหลักและรับรู้สิ่งต่างๆ รอบตัวไป

พร้อมๆ กัน

ประสบการณ์ทางภาษาภาครับ
*  เด็กได้อยู่ในบรรยากาศที่มีการใช้ภาษาที่มีความหมาย


*  เด็กได้รับความพึงพอใจและความสนุกสนานผ่านทางภาษา


*  เด็กมีโอกาสจำแนกเสียงที่ได้ยิน


*  เด็กได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่พรั่งพร้อมไปด้วยการใช้คำใหม่ๆ


*  เด็กมีโอกาสฟังและทำความเข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูด


*  เด็กมีโอกาสเรียนรู้ที่จะทำตามคำแนะนำ หรือคำสั่ง

ประสบการณ์ทางภาษาภาคส่ง

*  เด็กมีโอกาสใช้ภาษาอย่างอิสระ


*  เด็กได้รับกำลังใจและการยอมรับนับถือต่อความต้องการ ในการสื่อสารของเด็กเอง


*  เด็กได้รับการสนับสนุนให้ออกเสียงอย่างถูกต้อง


*  เด็กมีโอกาสเรียนรู้คำศัพท์ที่ใช้เพิ่มเติม


*  เด็กได้รับการสนับสนุนให้พูดประโยคที่สมบูรณ์ตาม ระดับพัฒนาการ


*  เด็กได้รับการส่งเสริมให้พูดโดยใช้คำหลายๆ ประเภท ทั้งคำนาม คำกริยา คำคุณศัพท์ 

ใช้วลี หรือใช้ประโยค เด็กมีโอกาสพูดเพื่อ     สื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจ


*  เด็กมีโอกาสใช้ภาษาทั้งในการแสดงความรู้สึกและความคิดเห็น


*  เด็กใช้ภาษาเพื่อการแก้ปัญหา ตั้งสมมุติฐาน สรุป หรือ ทำนายเหตุการณ์


*  เด็กมีโอกาสใช้ภาษาที่สัมพันธ์กับคณิตศาสตร์และตรรกศาสตร์

ผลลัพธ์สำคัญจากการจัดประสบการณ์
   **  เด็กมีนิสัยรักการอ่าน


    **  เด็กมีพัฒนาด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญาเหมาะสมกับวัย











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น