วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

                                           ชม  นิทรรศการ

    โครงการ  ศึกษาศาสตร์วิชาการ
       "คุณภาพการศึกษาไทยก้าวไกลสู่ประชาคมอาเซียน" 
  ฉลองวันสถาปนามหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมครบรอบ72ปี
       วันที่ 6-7 กันยายน 2555  
       คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม


















                               ค้นคว้าเพิ่มเติม


                          10  ประเทศอาเซียน




       ในสภาวะแห่งยุคทุนนิยม ที่เศรษฐกิจเป็นตัวขับเคลื่อนและผลักดันให้ประเทศต่าง ๆ ก้าว

รุดไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว ประกอบกับประเทศต่าง ๆ นั้นอยู่รวมกันเป็นสังคมโลก ไม่สามารถ

อยู่โดดเดี่ยวเดียวดายได้ จึงต้องมีการรวมตัวกันของประเทศในแต่ละภูมิภาคเพื่อเพิ่มอำนาจ

ในการต่อรองและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีระหว่างประเทศ เพื่อให้ได้มาซึ่ง

ผลประโยชน์ร่วมและพัฒนาประเทศในภูมิภาคไปพร้อม ๆ กัน ด้วยเหตุนี้ ภูมิภาคเอเชียตะวัน

ออกเฉียงใต้หรือ อาเซียน จึงได้มีข้อตกลงให้อาเซียนรวมตัวเป็นชุมชนหรือประชาคมเดียวกัน

ให้สำเร็จภายในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015)

 
      **  แต่ก่อนที่เราจะมาดูเนื้อหาสาระของการรวมตัวเป็น
ประชาคมอาเซียนนี้ เราจะมาย้อนดูกันรวมตัวกันของประเทศ
ในอาเซียนว่ามีการรวมตัวกันได้อย่างไร จนมาเป็นอาเซียนในปัจจุบัน 


      โดยอาเซียนหรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออก

เฉียงใต้  (ASEAN : The Association of South East Asian 

Nations) ได้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2510 โดย

ประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียน คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย 

ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ต่อมาในปีพ.ศ.2527 บรูไน ดารุส

ซาลาม ได้เข้ามาเป็นสมาชิก ตามด้วยเวียดนามเข้ามาเป็น

สมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2538  ขณะที่พม่าและลาวเข้ามาเป็นสมาชิก

ใน พ.ศ.2540 และประเทศสุดท้ายคือกัมพูชา เข้าเป็นสมาชิก

อาเซียน เมื่อ พ.ศ. 2542  ปัจจุบันอาเซียนมีประเทศสมาชิก

ทั้งหมด 10 ประเทศ




       ASEAN (อาเซียน)  ย่อมาจาก Association of southeast Asian 

Nations  หรือ  ประชาคมอาเซียนตะวันออกเฉียงใต้  ประกอบ

ด้วย 10 ประเทศ  คือ



1.ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia)




                            
          เมืองหลวงคือ กรุงพนมเปญ เป็นประเทศที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศไทยทางทิศ

เหนือ และทิศตะวันตก มีพื้นที่ 181,035 ตารางกิโลเมตร หรือขนาดประมาณ 1 ใน 3 ของ

ประเทศไทย มีประชากร 14 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2550) โดยประชากรกว่า 80% อาศัยอยู่

ในชนบท 95% นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ใช้ภาษาเขมรเป็นภาษาราชการ แต่ก็มีหลาย

คนที่พูดภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส และเวียดนามได้

ข้อควรรู้
- เมื่อเดินทางถึงท่าอากาศยานกรุงพนมเปญ โดยกรอกแบบฟอร์ม Visa on Arrival 
พร้อมยื่นรูปถ่ายและค่าธรรมเนียม 20 ดอลลาร์สหรัฐ
- ผู้ที่เดินทางเข้ากัมพูชา และประสงค์จะอยู่ทำธุรกิจเป็นระยะเวลาเกิน 3 เดือน 
ควรฉีดยาป้องกันโรคไทฟอยด์ และไวรัสเอและบี




2.ราชอาณาจักรไทย (Kingdom of Thailand)






          เมืองหลวงคือกรุงเทพมหานคร มีพื้นที่ 513,115.02 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 77 

จังหวัด มีประชากร 65.4 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และใช้

ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์

ประมุขของประเทศ

ข้อควรรู้

    -



3.บรูไนดารุสซาลาม (Brunei Darussalam) 






         ประเทศบรูไน มีชื่อเป็นทางการว่า "เนการาบรูไนดารุสซาลาม" มีเมือง "บันดาร์เสรีเบกา

วัน" เป็นเมืองหลวง ถือเป็นประเทศที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก เพราะมีพื้นที่ประมาณ 5,765 ตาราง

กิโลเมตร ปกครองด้วยระบบสมบูรณาญาสิทธิราช โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มี

ประชากร 381,371 คน (ข้อมูลปี พ.ศ.2550) โดยประชากรเกือบ 70% นับถือศาสนาอิสลาม 

และใช้ภาษามาเลย์เป็นภาษาราชการ


ข้อควรรู้

- ประชาชนของประเทศในกลุ่มอาเซียนสามารถทำวีซ่าที่ ตม.ที่ประเทศบรูไนฯ มีระยะเวลา

อยู่ในบรูไนฯได้ 2 สัปดาห์

-
ควรหลีกเลี่ยงเสื้อผ้าสีเหลืองเพราะถือเป็นสีของพระมหากษัตริย์

-
การทักทายจะจับมือกันเบาๆ และสตรีจะไม่ยื่นมือให้บุรุษจับ

-
การใช้นิ้วชี้ไปที่คนหรือสิ่งของถือว่าไม่สุภาพ แต่จะใช้หัวแม่มือชี้แทน

-
จะไม่ใช้มือซ้ายในการส่งของให้ผู้อื่น

-
สตรีเวลานั่งจะไม่ให้เท้าชี้ไปทางผู้ชายและไม่ส่งเสียงหรือหัวเราะดัง







4.สหภาพพม่า (Union of Myanmar)






          มีเมืองหลวงคือ เนปิดอว ติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันออก โดยทั้งประเทศมี

พื้นที่ประมาณ 678,500 ตารางกิโลเมตร ประชากร 48 ล้านคน กว่า 90% นับถือศาสนาพุทธ

นิกายเถรวาท หรือหินยาน และใช้ภาษาพม่าเป็นภาษาราชการ 
ข้อควรรู้

   -





5.สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines)





          เมืองหลวงคือ กรุงมะนิลา ประกอบด้วยเกาะขนาดต่าง ๆ รวม 7,107 เกาะ โดยมีพื้นที่

ดิน 298.170 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 92 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) ส่วนใหญ่นับถือ

ศาสนาคริสต์ และเป็นประเทศที่มีประชากรนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกเป็นอันดับ 

4 ของโลก มีการใช้ภาษาในประเทศมากถึง 170 ภาษา แต่ใช้ภาษาอังกฤษ และภาษาตากาล

อก เป็นภาษาราชการ


ข้อควรรู้

-การเข้าไปประกอบธุรกิจในฟิลิปปินส์ในลักษณะต่างๆ เช่น การลงทุนร่วมกับฝ่ายฟิลิปปินส์

จำเป็นต้องมีการศึกษาข้อมูลให้ละเอียด โดยเฉพาะในด้านกฎหมาย การจดทะเบียนภาษี

และปัญหาทางด้านแรงงาน เป็นต้น










6.ประเทศมาเลเซีย (Malaysia)





          เมืองหลวงคือ กรุงกัวลาลัมเปอร์ เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเขตศูนย์สูตร แบ่งเป็นมาเลเซีย

ตะวันตกบคาบสมุทรมลายู และมาเลเซียตะวันออก ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว ทั้งประเทศมีพื้นที่ 

329,758 ตารางกิโลเมตร จำนวนประชากร 26.24 ล้านคน นับถือศาสนาอิสลามเป็นศาสนา

ประจำชาติ ใช้ภาษา Bahasa Melayu เป็นภาษาราชการ


ข้อควรรู้
-ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามจะได้รับสิทธิพิเศษ คือ เงินอุดหนุนทางด้านการศึกษา สาธารณสุข การคลอดบุตรงานแต่งงานและงานศพ
-มาเลเซียมีปัญหาประชากรหลากหลายเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ในมาเลเซียประกอบด้วยชาวมาเลย์ กว่าร้อยละ 40 ที่เหลืออีกกว่าร้อยละ 33 เป็นชาวจีนร้อยละ10 เป็นชาวอินเดีย และ อีกร้อยละ 10 เป็นชนพื้นเมืองบนเกาะบอร์เนียว






7.สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) (The 

Lao People's Democratic Republic of Lao PDR)





         เมืองหลวงคือ เวียงจันทน์ ติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตก โดยประเทศลาวมี

พื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศไทย คือ 236,800 ตารางกิโลเมตร พื้นที่กว่า 90% เป็น

ภูเขาและที่ราบสูง และไม่มีพื้นที่ส่วนใดติดทะเล ปัจจุบัน ปกครองด้วยระบอบสังคมนิยม โดยมี

ประชากร 6.4 ล้านคนใช้ภาษาลาวเป็นภาษาหลัก แต่ก็มีคนที่พูดภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และ

ภาษาฝรั่งเศสได้ ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ 


 ข้อควรรู้

-ลาว มีตัวอักษรคล้ายของไทย ทำให้คนไทยอ่านหนังสือลาวได้ไม่ยากนัก 
ส่วนคนลาวอ่านหนังสือไทยได้คล่องมาก
-ลาวขับรถทางขวา







8.สาธารณรัฐสิงคโปร์ (The Republic of Singapore)







          เมืองหลวงคือ กรุงสิงคโปร์ ตั้งอยู่บนตำแหน่งยุทธศาสตร์ที่เป็นศูนย์กลางคมนาคมทาง

เรือของอาเซียน จึงเป็นประเทศที่มีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจมากที่สุดในย่านนี้ แม้จะมี

พื้นที่ราว 699 ตารางกิโลเมตรเท่านั้น มีประชากร 4.48 ล้านคน ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษา

ทางการ แต่มีภาษามาเลย์เป็นภาษาประจำชาติ ปัจจุบันใช้การปกครองแบบสาธารณรัฐ

 (ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีสภาเดียว)


ข้อควรรู้
- หน่วยราชการเปิดทำการวันจันทร์ ศุกร์ ระหว่างเวลา 08.30 น.-13.00 น. และ 14.00 น. – 16.30 น. และวันเสาร์ เปิดทำการระหว่างเวลา 08.00 น. – 13.00 น.
-การหลบหนีเข้าสิงคโปร์และประกอบอาชีพเร่ขายบริการผิดกฎหมาย จะถูกลงโทษอย่างรุนแรง
-การลักลอบนำยาเสพติด อาวุธปืนและสิ่งผิดกฎหมายอื่นๆ จะได้รับโทษอย่างรุนแรงถึงขั้นประหารชีวิต




9.สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (The Socialist Republic


 of Vietnam)





          เมืองหลวงคือ กรุงฮานอย มีพื้นที่ 331,689 ตารางกิโลเมตร จากการสำรวจถึงเมื่อปี 

พ.ศ.2553 มีประชากรประมาณ 88 ล้านคน ประมาณ 25% อาศัยอยู่ในเขตเมือง ส่วนใหญ่

ร้อยละ 70 นับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน ที่เหลือนับถือศาสนาคริสต์ ปัจจุบัน ปกครองด้วย

ระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ 


        ข้อควรรู้
- หน่วยงานราชการ สำนักงาน และองค์กรให้บริการสาธารณสุข เปิดทำการระหว่างเวลา 08.00 น. – 16.30 น. ตั้งแต่วันจันทร์ ศุกร์
- เวียดนามไม่อนุญาตให้ถ่ายภาพอาคารที่ทำการต่างๆ ของรัฐ
- หากนำเงินตราต่างประเทศติดตัวเข้ามามากกว่า 7,000 ดอลลาร์สหรัฐ ต้องแจ้งให้ศุลกากรเวียดนามทราบการนำเงินตราออกประเทศมากกว่า 7,000 ดอลลาร์สหรัฐ ต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งชาติหรือธนาคารกลางในท้องถิ่นก่อน มิเช่นนั้นจะถูกยึดเงิน
- บทลงโทษของเวียดนามในคดียาเสพติดการฉ้อโกงหน่วยงานของรัฐมีโทษประหารชีวิต





10.สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia)






        เมืองหลวงคือ จาการ์ตา ถือเป็นประเทศหมู่เกาะขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีพื้นที่ 

1,919,440 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากถึง 240 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) โดย 

61% อาศัยอยู่บนเกาะชวา ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามและใช้ภาษา Bahasa Indonesia 

เป็นภาษาราชการ


ข้อควรรู้
- ไม่ควรใช้มือซ้ายในการรับ-ส่งของ หรือรับประทานอาหารคนมุสลิมอินโดนีเซียถือว่ามือซ้ายไม่สุภาพ
- ไม่จับศีรษะคนอินโดนีเซียรวมทั้งการลูบศีรษะเด็ก
- การครอบครองยาเสพติด อาวุธ หนังสือรูปภาพอนาจาร มีบทลงโทษหนัก อาทิ การนำเข้าและครอบครองยาเสพติดมีโทษถึงประหารชีวิต
- บทลงโทษรุนแรงเกี่ยวกับการค้าและส่งออกพืชและสัตว์กว่า 200 ชนิด จึงควรตรวจสอบก่อนซื้อหรือนำพืชและสัตว์ออกนอกประเทศ









        ตลอดระยะเวลา 44 ปีที่ผ่านมา อาเซียนได้เกิดความร่วมมือ รวมทั้งมีการวางกรอบความ

ร่วมมือ เพื่อสร้างความเข็มแข็ง รวมถึงความมั่นคงของประเทศสมาชิกทั้งด้านความมั่นคง

เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และในปี พ.ศ. 2558 อาเซียนได้วางแนวทางก้าวไปสู่ประชาคม

อาเซียนอย่างสมบูรณ์ ภายใต้คำขวัญคือ  "หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม" 

(One Vision, One Identity, One Community) โดยมุ่งเน้นไปที่ 3 ประชาคม คือ ประชาคมการเมือง

และความมั่นคงอาเซียน(ASEAN Political Security Community : APSC)  ประชาคมเศรษฐกิจ

อาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน 

(ASEAN Socio-Cultural Community : ASCC)


       โดยเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2552 ผู้นำอาเซียนได้ลงนามรับรองปฏิญญาชะอำ หัวหิน 

ว่าด้วยแผนงานจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ค.ศ. 2009-2015) เพื่อจัดตั้งประชาคมอาเซียน

ภายในปี 2558 ซึ่งประชาคมอาเซียนประกอบด้วยเสาหลัก 3 เสา 

ดังต่อไปนี้
 
        1.ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน  (ASEAN Security Community – 

ASC) มุ่งให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีระบบแก้ไขความขัดแย้ง ระหว่างกันได้

ด้วยดี มีเสถียรภาพอย่างรอบด้าน มีกรอบความร่วมมือเพื่อรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคงทั้ง

รูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่ ๆ เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมั่นคง

         2
.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community – AEC) มุ่งให้เกิด


การรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และการอำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน อัน

จะทำให้ภูมิภาคมีความเจริญมั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่น ๆ ได้เพื่อความอยู่ดีกินดี

ของประชาชนในประเทศอาเซียน โดย
                 
       มุ่งให้เกิดการไหลเวียนอย่างเสรีของ สินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน การพัฒนาทาง

เศรษฐกิจ และการลดปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางสังคมภายในปี 2020

    * 
ทําให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว (single market and production base)

    * 
ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียนเพื่อลดช่องว่างการพัฒนาและช่วย


ให้ประเทศเหล่านี้เข้าร่วมกระบวนการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน

    
ส่งเสริมความร่วมมือในนโยบายการเงินและเศรษฐกิจมหภาคตลาดการเงินและตลาดทุน 


การปะกันภัยและภาษีอากร การพัฒนาโครงสร้างพิ้นฐานและการคมนาคม พัฒนาความร่วม

มือด้านกฎหมาย การเกษตร พลังงาน การท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยการยก

ระดับการศึกษาและการพัฒนาฝีมือแรงงาน
    

  กลุ่มสินค้าและบริการนำร่องที่สำคัญ ที่จะเกิดการรวมกลุ่มกัน คือ สินค้าเกษตร / สินค้า

ประมง / ผลิตภัณฑ์ไม้ / ผลิตภัณฑ์ยาง / สิ่งทอ / ยานยนต์ /อิเล็กทรอนิกส์ / เทคโนโลยี

สารสนเทศ (e-ASEAN) / การบริการด้านสุขภาพ, ท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศ 

(การบิน) กำหนดให้ปี พ.ศ. 2558 เป็นปีที่เริ่มรวมตัวกันอย่างเป็นทางการ โดยผ่อนปรนให้กับ

ประเทศ ลาว กัมพูชา พม่า และเวียตนาม สำหรับประเทศไทยได้รับมอบหมายให้ทำ 

Roadmap ทางด้านท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศ (การบิน)



 

          3.ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community – 

ASCC) เพื่อให้ประชาชนแต่ละประเทศอาเซียนอยู่ร่วมกันภายใต้แนวคิดสังคมที่เอื้ออาทร มี

สวัสดิการทางสังคมที่ดี และมีความมั่นคงทางสังคม

          สำหรับการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนนั้น ประเทศไทย


ในฐานะที่เป็นผู้นำในการก่อตั้งสมาคมอาเซียน มีศักยภาพในการเป็นแกนนำในการสร้าง

ประชาคมอาเซียนให้เข้มแข็ง จึงได้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นประชา

อาเซียน โดยจะมุ่งเน้นเรื่องการศึกษา ซึ่งจัดอยู่ในประชาคมสังคมและวัฒนธรรม ที่จะมี

บทบาทสำคัญที่จะส่งเสริมให้ประชาคมด้านอื่น ๆ ให้มีความเข้มแข็ง เนื่องจากการศึกษาเป็น

รากฐานของการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน และจะมีการส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้าน

อาเซียนศึกษา เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านศาสนาและวัฒนธรรม เพื่อขับเคลื่อนประชาคมอาเซียน

ด้วยการศึกษา ด้วยการสร้างความเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับเพื่อนบ้านในกลุ่มประเทศอาเซียน 

ความแตกต่างทางด้านชาติพันธุ์ หลักสิทธิมนุษยชน ตลอดจนการส่งเสริมการเรียนการสอน

ภาษาต่างประเทศเพื่อพัฒนาการติดต่อสื่อสารระหว่างกันในประชาคมอาเซียน


เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของอาเซียน

1.  เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

ในทางเศรษฐกิจสังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์และ 

การบริหาร

2.  เพื่อส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค

3.  เพื่อเสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจและ

พัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค

4.  เพื่อเสริมสร้างให้ประชาชนในอาเวียนมีความเป็นอยู่และ

คุณภาพชีวิตที่ดี

5.  เพื่อให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในรูปแบบของการฝึก

อบรมและการวิจัยและส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชียตะวันออก

เฉียงใต้

6.  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การ

ขยายการค้าตลอดจนปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม

7.  เพื่อส่งเสริมความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอก  

องค์การความร่วมมือแห่งภูมิภาพอื่นๆ และ องค์การระหว่าง

ประเทศ


    อาเซียน +3  คือ กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน 

10 ประเทศ และ 3 ประเทศนอกอาเซียน  ได้แก่

1.  จีน
2.  ญี่ปุ่น
3.  เกาหลีใต้


   อาเซียน +6  คือ กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน

10 ประเทศ และ 6 ประเทศนอกอาเซียน  ได้แก่

1.  จีน
2.  ญี่ปุ่น
3.  เกาหลีใต้
4.  ออสเตรเลีย
5.  นิวซีแลนด์
6.  อินเดีย

        7  วิชาชีพที่สามารถย้ายแรงงานฝีมือ
        อย่างเสรีในประเทศอาเซียน

1.  แพทย์

2.  ทันตแพทย์

3.  นักบัญชี

4.  วิศวกร

5.  พยาบาล

6.  สถาปนิก

7.  นักสำรวจ






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น